เปิดไทมไลน์ขนย้าย "กากแคดเมียม" ตั้งแต่ปี 66
- by admin
- 153
วันที่ 5 เม.ย. 2567 นายนภัทร เตชะสิรภัทร อุตสาหกรรมจังหวัดตาก ให้ข้อมูลว่า ในกระบวนการพิจารณาอนุญาตเป็นไปตามคู่มือของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการอนุญาตในระบบอิเล็กทรอนิกส์การยื่นขอของผู้ประกอบการต้นทางได้แนบมาตรการสิ่งแวดล้อมมาด้วย 5 ประการ ตัวสารที่ยื่นขอ และเอาออกไปไม่ได้มีแคดเมียมตัวเดียว มีเอกสารการตรวจวัดวิเคราะห์ของบริษัทต้นทาง ระบุว่าเป็นธาตุ ไม่ได้ระบุว่าเป็นอย่างอื่น มีทั้งหมด 18 ธาตุ ที่ส่งมาให้สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ตาก พิจารณา
จึงเห็นว่า เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคู่มือการอนุญาตของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้กันทั้งหมด 76 จังหวัดเหมือนกันหมด และมีรหัสของสารตรงกับคู่มือ ปลายทางมีใบอนุญาตถูกต้องประเภท 106 มีโรงหลอมที่ตรงกับประเภทจากต้นทาง าสมารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เมื่อตรวจสอบแต่ต้นทางถึงปลายทาง ก็มีข้อมูลที่ตรงกันหมดไม่มีการรั่วไหลระหว่างทาง
โดยทางโรงงานต้นทาง มีการแจ้งขอเคลื่อนย้ายกากแร่ ในช่วงเดือน ก.ค. 2566 ก่อนที่จะเริ่มขนย้ายในเดือนส.ค. 2566 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แจ้งจำนวนกากแร่ที่ขนย้าย 13,450 ตัน กระทั่งเดือนมี.ค. 2567 ชาวบ้านเรียน อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครจึงสั่งอายัด ก่อนที่ตจะมีการเข้าตรวจสอบอย่างจริงจังและสั่งย้ายถุงบิ๊กแบ็กบรรจุกากแร่แคดเมียมเข้าไปไว้ในอาคาร ในวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา และ วันที่ 4 เม.ย.รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่
รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า พื้นที่อนุญาตสัมปทานให้ทำเหมืองแร่ คือ จ.ตาก มีการทำแร่สังกะสีเป็นหลัก ซึ่งปกติแล้วจะมีแคดเมียมปนมาด้วย ตามกฎหมายระบุชัดเจนว่า หากมีแคดเมียมปะปนสูงเกินมาตรฐาน กากแร่ที่เหลือต้องนำไปฝังกลบ เพื่อรอเวลาเปิดหน้าดินหาแร่สังกะสีต่อ
อย่างกรณีการลักลอบขนกากแร่แคดเมียมครั้งนี้อาจารย์อ๊อด บอกว่า ปริมาณกากแร่ มีจำนวนมากถึง 15,000 ตัน การที่จะขนจาก จ.ตาก มาพักไว้ จ.สมุทรสาคร “ต้องผ่านหลายพาสปอร์ต” อย่างข้อมูลของกรรมาธิการอุตสาหกรรม บอกว่า ใบอนุญาตถลุงแร่กับกากแร่ที่ขนย้ายออกมาเป็นคนละชนิดกัน ซึ่งตาม ปกติเหมืองแร่ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตรวจสอบการขนแร่เข้า-ออก จึงตั้งคำถามว่า ทำไมถึงสามารถขนย้ายออกจากต้นทางได้ กรมอุตสาหกรรมฯ อนุญาตได้อย่างไร
รวมถึงการที่ขนย้ายก็ต้องใช้รถผ่านทางหลวง ทำไมถึงไม่ถูกเรียกตรวจ นอกจากนั้นยังมีข้อมูลว่า กากแร่แคดเมียมที่นำมาพักไว้เตรียมส่งขายต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้ส่งออกแร่แคดเมียม จึงเป็นไปได้ว่าต้องมีการสำแดงเอกสารเท็จ
อาจารย์อ๊อด มองว่าเรื่องนี้ควรตรวจสอบย้อนกลับไปด้วยว่า เคยมีการส่งออกกากแร่เหล่านี้ไปบ้างแล้วหรือไม่ เพราะการส่งออกจะต้องผ่านหลายกระบวนการและเกี่ยวโยงกับเจ้าหน้าที่หลายกระทรวง รวมถึงตำรวจ ซึ่งอาจารย์อ๊อดมั่นใจว่า กรณีนี้หากคนย้ายมาพักเตรียมส่งออกแล้วต้องมีการจ่ายส่วยแน่นอนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อาจารย์อ๊อดให้ข้อมูลว่า แร่แคดเมียมสามารถนำไปทำแบตเตอรี่ได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีโรงงานใช้แคดเมียมผลิตแบตเตอรี่เองเพราะต้องใช้ต้นทุนจำนวนมากรวมถึงแร่แคดเมียมมีอันตรายมาก แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่มีการแผ่กระจาย แต่ฝุ่นละอองของแคดเมียมที่ฟุ้งกระจายระหว่างขนส่งหากเข้าไปในร่างกายหรือปะปนกับอาหารก็เกิดผลกระทบรุนแรงได้ เช่น โรคเลือดจาง โรคไตจนนำไปสู่ภาวะไตวาย หรือหากรับสารในปริมาณที่สูงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้
สำหรับคดีนี้ เป็นเรื่องใหญ่แต่ว่าตอนนี้จะอยู่ในมือกรรมาธิการอุตสาหกรรมของรัฐสภา แต่ส่วนตัวอยากให้ส่งไปอยู่ในมือของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอที่เคยทำคดีเกี่ยวกับเรื่องกากสารเคมีที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมหรือประชาชนเป็นวงกว้างสำเร็จมาหลายเคสแล้ว สิ่งที่กังวลคือหากไม่เร่งดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างรวดเร็วอาจมีกระบวนการส่งกลับไปฝังกลบที่เดิม แล้วคดีก็จะเงียบหายไป ว่าหากวันจันทร์ไม่เห็นการเทคแอ็คชั่นจากหน่วยงานไหนเรื่องนี้อาจจะส่งตัวแทน ทนาย ผู้เชี่ยวชาญทางนิติวิทยาศาสตร์ ไปยื่นให้ดีเอสไอตรวจสอบเรื่องนี้เอง
วันที่ 5 เม.ย. 2567 นายนภัทร เตชะสิรภัทร อุตสาหกรรมจังหวัดตาก ให้ข้อมูลว่า ในกระบวนการพิจารณาอนุญาตเป็นไปตามคู่มือของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการอนุญาตในระบบอิเล็กทรอนิกส์การยื่นขอของผู้ประกอบการต้นทางได้แนบมาตรการสิ่งแวดล้อมมาด้วย 5 ประการ ตัวสารที่ยื่นขอ และเอาออกไปไม่ได้มีแคดเมีย…
วันที่ 5 เม.ย. 2567 นายนภัทร เตชะสิรภัทร อุตสาหกรรมจังหวัดตาก ให้ข้อมูลว่า ในกระบวนการพิจารณาอนุญาตเป็นไปตามคู่มือของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการอนุญาตในระบบอิเล็กทรอนิกส์การยื่นขอของผู้ประกอบการต้นทางได้แนบมาตรการสิ่งแวดล้อมมาด้วย 5 ประการ ตัวสารที่ยื่นขอ และเอาออกไปไม่ได้มีแคดเมีย…